1. เป้าหมายการเงินหรือชีวิตเรา ทั้งระยะสั้น 3 ปี ระยะกลาง 5 ปี ระยะยาว 10 ปีขึ้นไป อยากซื้อรถเก๋งดาวน์ 350,000 ภายในปี 59 ดาวน์บ้านหรือคอนโด ราคา 2,000,000 บาทเป็นเงินดาวน์ 5% เป็นเงิน 100,000 บาท อีก 3 ปี จะแต่งงานใช้เงิน 500,000 บาท จะต่อเติมบ้านให้แม่ อีก 2 ปี เป็นเงิน 150,000 บาท อยากออมเงินไว้ให้ลูกเรียนปริญญาตรี โท เอก โดยค่าใช้จ่าย ป ตรี เอกชนเดือนละ 20,000 ปีละ 240,000 บาท 4 ปี เป็นเงิน 560,000 บาท ป.โท ม.โตไก (เอกชนอันดับ1ญี่ปุ่น) เดือนละ 60,000 ปีละ 720,000 บาทรวม 3 ปี เป็นเงิน 2,160,000 บาท อยากออมเงินไว้ใช้ตอนเกษียณตั้งแต่อายุ 60-80 ปี เดือนละ 100,000 บาท ปีละ 1,200,000 บาท 20 ปี เป็นเงิน 24,000,000 บาท พอเสียชีวิตก็มีเงินมรดกให้ภรรยาและบุตรอีก 2 คน รวมคนละ 5,000,000 บาท นี่คือเป้าหมายการเงินที่นิยมมากที่สุดในต่างประเทศ ซึ่งคนรวยคนจนตั้งเป้าหมายได้หมด แต่เป้าหมายต้องดูความเป็นไปได้ ตามขนาดของรายได้ อายุ และอัตราผลตอบแทนในอนาคต และคนที่จะดูแลเป้าหมายการเงินให้ท่านได้ ต้องเป็นที่ปรึกษาการเงิน Financial Adviser ตกลงว่าเริ่มต้นด้วยเป้าหมาย
2. ประเมินศักยภาพความมั่งคั่ง ณ ปัจจุบัน โดยหลักสากล คือการจัดทำงบดุล เพื่อดูความมั่งคั่งสุทธิ โดยรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นจริงหารด้วยหนี้สิน ซึ่งผลออกมาต้องมากกว่า 1 จึงจะถือว่าดี การจัดทำงบกระแสเงินสด เพื่อดูสภาพคล่องต่างๆ หลังจากนั้นก็หาอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อประเมินศักยภาพ หรือความมั่งคั่งสุทธิ ส่วนไหนเกิน ส่วนไหนขาด เพื่อประกอบการทำแผน
3. การนำข้อมูลมาทำแผนการเงิน ภายใต้หลักการและเหตุผล ปิรามิดแห่งการวางแผนการเงิน