1 คำจำกัดความ
‘โค้ทติ้ง’ คือคำศัพท์รวมๆที่เรียก วัสดุที่ใช้ปกปิดพื้นผิวงานที่เราต้องการจะปกป้องจากสภาวะการใช้งาน, การกัดกร่อน, สภาวะแวดล้อมจากธรรมชาติ ฯลฯ ส่วนใหญ่จะต้องเริ่มจาก การก่อตัวเป็น ‘ฟิล์ม’ ก่อน
โค้ทติ้งไม่จำกัดว่าจะต้องเป็น ‘สี’ หรือมีสีสันเท่านั้น (สามารถมีลักษณะใส, มองทะลุได้) เช่นว่า ปูน, คอนกรีต, โลหะบางชนิด หรือแม้กระทั่ง แก้ว ก็มีการนำมาประยุกต์เป็น โค้ทติ้งมาแล้ว
2 การแบ่งประเภทโค้ทติ้ง
โดยทั่วไปแล้ว โค้ทติ้ง แบ่งได้เป็นสองประเภท ออร์แกนิก กับ อินออร์แกนิก โดยประเภทที่เป็นออร์แกนิกมีมากกว่า
ออร์แกนิก หมายถึง ต้องธาตุ คาร์บอน ส่วนมากมีวัสดุดิบเป็นสิ่งมีชีวิต เช่น ต้นไม้ (ต้นตุง),ถั่ว, เมล็ดพันธุ์, ปลา หรือ จากสิ่งที่เกิดจากสิ่งที่เคยมีชีวิตอยู่เช่น ถ่านและปิโตรเลียม
อินออร์แกนิก หมายถึง มีวัสดุดิบเป็นที่ไม่มีชีวิต เช่น โซเดียม ซิลิเคท, แคลเซียม ซิลิเคท, ลิเทียม ซิลิเคท หรือ อีทิล ซิลิเคท เป็นต้น
3 ส่วนประกอบของโค้ทติ้ง
ตามหลักทั่วไปแบ่งโค้ทติ้งเป็นสองส่วน
· พิกเมนต์
· เวฮิเคิล
4 พิกเมนต์
อาจทำความเข้าใจง่ายๆว่าเป็นเม็ดสีของโค้ทติ้ง หมายถึง อนุภาคของแข็งที่ให้สีสันและมีคุณสมบัติในการปกป้องพื้นผิว พิกเมนต์จะไม่ละลายในโค้ทติ้ง แต่ จะคงสภาพที่เสถียรเป็นอนุภาคของแข็งอยู่เสมอไม่ว่าโค้ทติ้งนั้นจะเป็นของเหลวหรือแห้งเป็นฟิล์มของแข็งแล้วก็ตาม
พิกเมนต์นั้นอาจรวมถึง ฟิลเลอร์ หรือสารที่เติมไปเพื่อเพิ่มปริมาตรแต่จะไม่ทำปฏิกริยาทางเคมี อาจเพิ่มเพื่อให้มีคุณสมบัติต่างๆเช่นความมันวาว
หน้าที่ของพิกเมนต์มีดังนี้
· ให้คุณลักษณะต่อต้านการเกิดสนิมกับโค้ทติ้ง
· ลดการซึมของ ของเหลวผ่านผิวฟิล์ม
· ทำให้ไม่โปร่งแสง ควบคุมลักษณะภายนอก
· ป้องกันฟิล์มจากแสง ยูวี และ สภาพอากาศ
· ให้ความแข็งแรง ควบคุมระดับความมันวาว ให้ความขรุขระกับผิวโค้ทติ้งเพื่อการยึดติดที่ดีของสีชั้นบนที่พ่นเคลือบทับ พิกเมนต์ที่เม็ดใหญ่จะทำให้ยึดติดกับพื้นผิวที่มีการพ่นเคลือบได้ดียิ่งขึ้น
· ทำให้ไบน์เดอร์(เรซิน) บ่มตัวแห้งง่ายขึ้น
· ทำให้เก็บรักษาโค้ทติ้งได้นานขึ้น
· ทำให้เนื้อโค้ทติ้งมีความสม่ำเสมอ ทำให้สร้างความหนาของฟิล์มได้ตามต้องการ
· ให้มีความต่างศักย์ระหว่างพื้นผิวที่ต้องการจะปกป้องกับ โค้ทติ้ง เพื่อเป็นการปกป้องพื้นผิวโดยให้โค้ทติ้งถูกกัดกร่อนก่อน
ปัจจุบันมีพิกเมนต์ให้เลือกใช้เป็นร้อยชนิด และ อาจมีคุณลักษณะต่างกันขึ้นอยู่กับผู้ผลิต, วิธีการผลิต และ อีกหลายปัจจัย
ควรสังวรณ์ไว้เสมอว่าพิกเมนต์ทุกชนิด เป็นสารที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยมีบางชนิดที่มีอันตรายมาก ดังนั้นไม่ควรสูดดมหรือนำสารเหล่านั้นเข้ามาในร่างกาย