รับตกแต่งภายใน
หากมองหาบริการรับออกแบบภายใน หรือรับตกแต่งภายใน จ้างนักออกแบบภายในทั้งที ก็ต้องมีหลักการกันหน่อย ด้วย 10 สิ่งควรรู้ดังต่อไปนี้ ที่จะช่วยให้คุณรู้ทันนักออกแบบภายในและได้แบบบ้านที่ดีที่สุด
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีไอเดียการตกแต่งบ้านมากมาย แต่ไม่รู้ว่าจะเอามารวมกันให้สวยได้อย่างไร ถ้าหากทำไม่เหมาะสมก็อาจเกิดความเสียหายต่อตัวอาคารจนต้องเสียงบประมาณเพิ่มจ้างบริกรรับซ่อมบ้านมาแก้ไขเพิ่มเติมภายหลังได้ รวมทั้งต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตัวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบพลังงานและระบบประปา โดยผู้รับออกแบบจำเป็นต้องมีประสบการณ์ด้านรับเดินสายไฟ หรือรับซ่อมไฟฟ้า หรือรับซ่อมประปา หรือเคยรับดูฮวงจุ้ยมาก่อนก็จะดีมากๆ ด้วยสามารถออกแบบผลงานให้สอดคล้องกันกับระบบดังกล่าวได้ดี และก็คงต้องถึงเวลาจ้างนักออกแบบภายในมาเป็นตัวช่วยแล้วล่ะ ซึ่งนักออกแบบภายในเหล่านี้จะมีไอเดียและทฤษฎีต่างๆ มาช่วยเนรมิตบ้านสวยให้กับคุณได้ แต่หากคุณยังไม่ได้อ่าน 10 ข้อดังต่อไปนี้ ก็อย่าเพิ่งคิดจะโทรเรียกนักออกแบบที่ไหนมาเชียว เพราะมีบางสิ่งที่พวกเขาก็อาจจะไม่อยากบอกให้คุณรู้ ถ้าไม่อยากควักกระเป๋าจ่ายไปแล้วไม่ได้บ้านแบบที่ต้องการ ก็ต้องท่องสิ่งเหล่านี้ไว้ให้ขึ้นใจ รับรองว่าเจอนักออกแบบที่มาไม้ไหนก็เอาอยู่แน่นอน
1. มืออาชีพเท่านั้นที่มีคอนเนคชั่น
ไม่ใช่นักออกแบบทุกคนที่จะมีคอนเนคชั่นดีๆ เสมอไป แต่มักจะมีเฉพาะนักออกแบบที่อยู่ในวงการมานานเท่านั้น ซึ่งคอนเนคชั่นเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหมายถึงส่วนลดที่คุณจะได้รับจากการได้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มาในราคาถูก ดังนั้นก่อนจะเลือกใช้บริการนักออกแบบภายในคนไหน คงต้องเช็กประวัติกันหน่อย โดยพยายามพิจารณาจากหลายๆ ตัวเลือก และอย่าลืมสอบถามถึงคอนเนคชั่นของสินค้าประเภทพื้นหรือเคาน์เตอร์ครัวที่มักมีราคาแพง เพราะจะช่วยประหยัดเงินได้หลายบาทเลยทีเดียว
2. การประหยัดเงินลูกค้าไม่ใช่เป้าหมายหลัก
คุณอาจจะคิดว่าปรัชญาของนักออกแบบ คือการช่วยเซฟเงินลูกค้า แต่บอกเลยว่าผิดมหันต์ เพราะผลงานเป็นสิ่งสะท้อนความสามารถของนักออกแบบ พวกเขาจึงมักเลือกวัสดุที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมให้ผลงานออกมาเพอร์เฟคท์ที่สุดนั่นเอง ดังนั้นพูดคุยเรื่องงบประมาณก่อนเป็นสิ่งแรก ถ้าคุณไม่อยากให้เงินในบัญชีหมดเกลี้ยงไปกับค่าตกแต่ง แจ้งไปเลยว่าค่าใช้จ่ายที่รับได้คือเท่าไร ซึ่งนักตกแต่งที่เก่งจะออกแบบในสิ่งที่คุณต้องการ ภายใต้งบประมาณที่คุณตั้งไว้ได้
3. เผลอใส่รสนิยมตัวเองลงไป
แม้กระทั่งนักออกแบบที่เป็นมืออาชีพที่สุด ก็ยังอาจเผลอใส่รสนิยมส่วนตัวลงในการตกแต่ง ดังนั้นถ้าคุณไม่อยากให้สไตล์ที่่นักออกแบบชื่นชอบ ถูกถ่ายทอดลงในบ้านของคุณ ก็อย่าแจ้งความจำนงแบบเปิดกว้างจนเกินไป โดยให้ระบุสไตล์ที่คุณต้องการอย่างชัดเจน ทั้งภาพรวม โทนสี วัสดุที่คุณชื่นชอบ พูดคุยกันให้ชัดเจนเพื่อความมั่นใจว่าบ้านที่สำเร็จจะสะท้อนความเป็นตัวคุณ ไม่ใช่ตัวของนักออกแบบ
4. จ่ายน้อยได้มากไม่ใช่เรื่องยาก
สิ่งที่ดีที่สุดไม่จำเป็นต้องจ่ายด้วยราคาแพงเสมอไป ลองมองหานักเรียนออกแบบที่มักต้องทำโปรเจคท์การตกแต่งเพื่อเอาคะแนน นักออกแบบรุ่นเล็กเหล่านี้มักมีไอเดียที่สดใหม่ และให้บริการคุณภาพสูงในราคาที่ถูกกว่าครึ่งได้ อย่างไรก็ตามข้อเสียคือพวกเขามักไม่มีคอนเนคชั่นเหมือนอย่างมืออาชีพ ดังนั้นคุณต้องลองพูดคุยและชั่งน้ำหนักดูว่ารับได้หรือไม่ โดยให้พยายามเลือกใช้บริการว่าที่นักออกแบบที่เคยมีผลงานมาบ้าง และพิจารณาว่าไอเดียของพวกเขาตรงตามความคาดหวังของคุณหรือไม่ เพราะนี่คือหนึ่งในหนทางที่จะทำให้คุณจ่ายน้อยได้มากนั่นเอง
5. ปฏิเสธได้ไม่ต้องเกรงใจไปทุกเรื่อง
แม้การพูดตรงๆ ว่าคุณไม่ชอบการออกแบบบางอย่าง อาจเป็นเรื่องลำบากใจ แต่นักออกแบบมืออาชีพย่อมไม่โกรธหากคุณจะปฏิเสธไอเดียเหล่านั้น จำไว้ว่าคุณจ่ายเงินเพื่อให้ได้แบบที่คุณต้องการ และพวกเขามีหน้าที่ถ่ายทอดไอเดียของคุณ ดังนั้นอะไรที่คุณไม่ชอบก็จงอย่าลังเลที่จะปรับเปลี่ยนมัน โดยรีบบอกให้เร็วที่สุด และหากนักออกแบบไม่เห็นด้วยกับไอเดียของคุณก็ควรพูดคุยแลกเปลี่ยน โดยระลึกไว้เสมอว่าการตัดสินใจทั้งหมดเป็นสิทธิของคุณไม่ใช่ของนักออกแบบ
6. ไม่จำเป็นต้องจ้างทั้งโปรเจค
อย่ายึดติดว่าคุณต้องจ้างนักออกแบบรายเดียวสำหรับบ้านทั้งหลัง เพราะความเป็นจริงนักออกแบบสามารถรับงานเล็ก ๆ บางส่วนของบ้านได้ เช่น หากคุณต้องการที่ปรึกษาด้านเคาน์เตอร์ในครัว ก็ไม่จำเป็นต้องจ้างนักออกแบบตกแต่งทั้งห้องครัวให้คุณ อย่าให้ใครหลอกคุณได้ว่าการออกแบบที่สวยเป็นมืออาชีพ เกิดขึ้นได้ด้วยการจ้างนักออกแบบเพียงรายเดียว บ้านเป็นของคุณและคุณมีสิทธิเลือก แค่ต้องแน่ใจว่าคุณได้ตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนออกแบบ จะได้ไม่เกิดปัญหาทีหลัง
7. บ้านของคุณอาจไม่ได้มาก่อน
นักออกแบบอาจบอกคุณว่า บ้านของคุณสำคัญที่สุด แต่เอาเข้าจริงๆ นักออกแบบหนึ่งรายย่อมไม่ได้มีลูกค้าแค่คนเดียว ดังนั้นพูดคุยให้เข้าใจถึงระยะเวลาและนัดหมายต่างๆ เพราะคุณคงไม่อยากเจอปัญหาที่นักตกแต่งมาๆ หายๆ เพราะมัวแต่ไปให้บริการลูกค้าที่จ่ายหนักกว่าอยู่ ดังนั้นตกลงกันให้แน่ใจว่า ถึงคุณไม่ใช่ลูกค้าคนที่มาก่อน แต่ก็เป็นลูกค้าคนหนึ่งที่สำคัญ หรืออีกวิธีคือเช็กประวัติของนักออกแบบดูสักนิด จะได้ไม่เจอปัญหานี้มากวนใจ
8. ไม่จำเป็นต้องใช้ของใหม่เสมอ
หากนักออกแบบยุให้คุณซื้อของใหม่เพื่อเติมเต็มการตกแต่งในฝัน คุณอาจต้องจ่ายเงินจนหมดกระเป๋าแน่ ๆ ทั้งที่ความเป็นจริง คุณสามารถออกไอเดียเอาของเก่าในบ้านมาทำใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ใช้แจกันเก่าทำที่ใส่ช้อน หรือนำตู้ลิ้นชักที่ไม่ใช้แล้วมาเติมซิงก์ใช้เป็นเคาน์เตอร์ในห้องน้ำ ดังนั้นก่อนจะสั่งของใหม่มา เดินสำรวจของในบ้านก่อน หรือจะลองไปเดินดูตามร้านขายของมือสอง ที่นอกจากจะช่วยประหยัดเงินแล้วยังได้ลุคที่คลาสสิกสุดๆ
9. นักออกแบบอาจไม่ชอบไอเดียของคุณเสมอไป
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่านักออกแบบก็มีรสนิยมส่วนตัว ดังนั้นพวกเขาอาจไม่ชอบไอเดียการตกแต่งของคุณ แต่ไม่บอกตรงๆ ดังนั้นอย่าประหลาดใจถ้าพวกเขาพยายามจะเอนเอียงคุณไปในทิศทางอื่น จงเป็นตัวของตัวเอง บางไอเดียของคุณอาจจะเหมาะ ในขณะที่บางไอเดียอาจจะไม่ แต่ไม่ต้องกังวล ให้ยึดมั่นอยู่กับภาพรวมที่สำคัญกับคุณที่สุด และยืนกรานว่าคุณต้องการจะใส่มันลงในการออกแบบ
10. ใช้สิ่งของทดแทนได้
แน่นอนว่านักออกแบบต้องการสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคุณ แต่นั่นอาจไม่สัมพันธ์กับงบประมาณที่มีอยู่ ทั้งที่ความเป็นจริงเราสามารถประหยัดงบประมาณในขณะที่บรรลุการออกแบบที่ต้องการได้ ด้วยการเลือกของทดแทนที่ให้ลุคคล้ายกัน เช่น ม่านที่ให้ลุคเรียบหรูแต่ราคาไม่แพง หรือตู้เนี้ยบๆ ตามร้านเฟอร์นิเจอร์แทนที่การสั่งทำ แค่พวกเขาต้องยอมตามหาให้คุณหน่อย ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณได้มากทีเดียว
** จดจำเทคนิคเหล่านี้ไว้ใช้ เพื่อให้ได้นักออกแบบและการตกแต่งบ้านออกมาที่ถูกใจที่สุด แค่นี้คุณก็จะได้บ้านสวยในงบประมาณที่ไม่บานปลายแล้ว **