• Image

สรรพากร ออก พ.ร.บ. ยกเว้นเบี้ยปรับ

บริษัท แอคเคาท์มาย จำกัด
มือถือ:   089-498-4816
ปรับธุรกิจแบบไหนเข้าข่ายได้รับการยกเว้นค่าปรับ ออกตัวก่อนว่ากฎหมายฉบับนี้ให้สิทธิ

สรรพากร ออก พ.ร.บ. ยกเว้นเบี้ยปรับ

สรรพากร ออก พ.ร.บ. ยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มให้

ธุรกิจแบบไหน ถึงเข้าข่ายได้รับการยกเว้นค่าปรับ

ออกตัวก่อนว่า กฎหมายฉบับนี้ให้สิทธิเฉพาะการทำธุรกิจในนาม นิติบุคคลเท่านั้น (จดทะเบียนบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน) โดยมีเงื่อนไขต่อไปนี้

1. ต้องเป็นกิจการที่มีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะได้รับการยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ก็ต่อเมื่อมีรายได้ในรอบบัญชีล่าสุด ถึงวันที่ 30 กันยายน 2561 ไม่เกิน 500 ล้านบาท

2. ต้องเป็นกิจการที่ยื่นภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด.50) นอกจากจะต้องเป็นกิจการที่มีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาทแล้ว สรรพากรจะต้องตรวสอบได้ด้วยว่า กิจการของคุณได้ทำการยื่นแบบภาษีเงินได้ (ภ.ง.ด. 50) ของรอบบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน 2561 ภายในวันที่ 25 มี.ค. 62

3. ต้องไม่ใช้ ใบกำกับภาษี ที่ผิดกฎหมาย กิจการของคุณจะต้องไม่เคยออกใบกำกับภาษี หรือ ใช้ใบกำกับภาษีผิดกฎหมาย และหากสรรพากรตรวจสอบพบว่ากิจการของคุณใช้ใบหรือเคยออกใบกำกับภาษีปลอม คุณจะมีโทษทางกฎหมายด้วย (อ้างอิง ประมวลรัษฎากร มาตรา 89(7) เรื่องเบี้ยปรับมีความผิดทางแพ่ง และ มาตรา 90/4(7) มีโทษทางอาญา เพิ่มเติมที่ www.rd.go.th)

ภาษีที่ได้รับยกเว้นเบี้ยปรับ-เงินเพิ่ม

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่ 1 ม.ค. 59 – 31 ธ.ค. 60

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ของเดือน ม.ค. 59 – ก.พ. 62

3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ของเดือน ม.ค. 59 – ก.พ. 62

4. อากรแสตมป์ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 59 – 25 มี.ค. 62

5. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตั้งแต่ 1 ม.ค. 59 – 25 มี.ค. 62

ขั้นตอนการรับสิทธิ์เว้นเบี้ยปรับ-เงินเพิ่มและโทษทางอาญา สำหรับ SME

ทำความเข้าใจกันก่อนว่า กฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่การนิรโทษกรรมทางภาษีเพราะคุณยังคงต้องชำระค่าภาษีที่ค้างจ่ายอยู่ แต่จะได้รับสิทธิยกเว้นไม่ถูกเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษทางอาญา

มาตรการนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าของธุรกิจ SME เข้าสู่ระบบ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการหันกลับมาจ่ายภาษีให้ถูกต้องกันมากขึ้น และเป็นการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีของผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการสามารถรับสิทธิ์ได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. ลงทะเบียนที่เว็บไซต์กรมสรรพากร newstartup.rd.go.th ตั้งแต่ 1 เม.ย. 62 – 30 มิ.ย. 62

2. ทำการยื่นภาษีย้อนหลังที่ผิดพลาดให้ถูกต้อง ได้แก่

o ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่ 1 ม.ค. 59 – 31 ธ.ค. 60

o ภาษีมูลค่าเพิ่มของเดือน ม.ค. 59 – ก.พ. 62

o ภาษีธุรกิจเฉพาะของเดือน ม.ค. 59 – ก.พ. 62

o อากรแสตมป์ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 59 – 25 มี.ค. 62

o ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ตั้งแต่ 1 ม.ค. 59 – 25 มี.ค. 62

3. ต้องยื่นขอเสียภาษีอากรเป็นตัวเงิน หรือภาษีย้อนหลังตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 พร้อมทั้งจ่ายภาษีย้อนหลังให้ครบทั้งจำนวน ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2562

4. หลังจากลงทะเบียนแล้ว จะต้องยื่นแบบภาษีทุกประเภทผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (E-Filing) ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2562 – 30 มิถุนายน 2563

** ขั้นตอนนี้สำคัญมาก หากคุณไม่ทำการยื่นภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตภายในระยะเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด จะไม่ได้รับสิทธิ์ที่สมบูรณ์**

ทั้งนี้ทั้งนั้น หากกิจการของคุณได้รับหนังสือแจ้งการประเมินฯ จากกรมสรรพากรแล้ว จะไม่ได้รับการยกเว้นเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

ข้อควรรู้เพิ่มเติม

1. เคยลงทะเบียนบัญชีชุดเดียวเมื่อปี 2559 และมั่นใจว่า ที่ผ่านมายื่นภาษีถูกต้อง คุณสามารถเลือกไม่ลงทะเบียนและยื่นภาษีใหม่ก็ได้

2. ในกรณีที่เคยลงทะเบียนบัญชีชุดเดียวเมื่อ ปี 2559 และที่ผ่านมาไม่ได้ยื่นภาษีให้ถูกต้อง มีการปรับแต่งบัญชี และอยากแก้ไขให้ถูกต้อง คุณสามารถลงทะเบียนและดำเนินการตามขั้นตอนข้างต้นได้

3. ในกรณีที่ไม่เคยลงทะเบียนบัญชีชุดเดียวในปี 2559 สามารถลงทะเบียนและดำเนินการขอรับสิทธิ์ได้ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย

4. ในกรณีที่คุณมั่นใจว่า ที่ผ่านมามีการยื่นภาษีถูกต้อง และมั่นใจว่าไม่ได้ยื่นภาษีผิดพลาด ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนก็ได้

สอบถามรายละเอียดสินค้า
ส่งคำสอบถามถึง
คำสอบถามของคุณคือ (*):
ชื่อผู้ส่งคำสอบถาม (*):
อีเมล์ที่ใช้รับการตอบกลับ (*):
หมายเลขโทรศัพท์ของคุณ
ไลน์ไอดีของคุณ
เขียนสิ่งที่คุณต้องการสอบถามด้านล่าง (*)
Verified
Level 2 Saller
ที่อยู่: เลขที่ 44 ถนนท้ายบ้าน ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270, ประเทศไทย
เว็บไซต์: https://www.accountmind.co.th
มือถือ:   089-498-4816
สินค้าอื่น ๆ
ดูทั้งหมด
บิลเงินสด สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้หรือไม่?
ประเทศ:
พาณิชย์จับมือสรรพากรเปิดทางลัดดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประเทศ:
ตรวจสอบและรับรองงบการเงินโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พร้อมจัดทำรายงานงบการเงินครบชุด
ประเทศ:
บริการวางแผน จัดทำ และยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดา ทั้งกลางปี และ ปลายปี
ประเทศ:
บริการงานด้านประกันสังคม บริการจัดทำและนำส่งแบบเงินกองทุนทดแทนประจำปี
ประเทศ:
ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีให้ครอบคลุมแก่ผู้ประกอบการเป็นการทั่วไป
ประเทศ:
Thailand Trusted SMEs ศูนย์รวม SME ไทยที่คุณวางใจ