แผงโซล่าเซลล์ solarcell polycrystalline 100W
การบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์และแผงโซล่าเซลล์
การบำรุงรักษา หมายถึง วิธีการปฏบัติหรือแนวทางตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีอายุการใช้งานยาวนาน และผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุด ท่านผู้ใช้งานควรทราบถึงสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการผลิตไฟฟ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ มีดังต่อไปนี้
1. พื้นที่ของแผง แผงเซลล์แสงอาทิตย์ยิ่งมีขนาดใหญ่ จะยิ่งผลิตไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น สรุปคือยิ่งมากยิ่งได้เยอะ
2. ความสว่างของแสงอาทิตย์ ยิ่งแสงอาทิตย์ตกลงบนแผงมาก จะยิ่งผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น หากมีร่มเงาบังแผงแม้เพียง 1 เซลล์ ไฟฟ้าที่ผลิตได้อาจลดลงเหลือแค่ครึ่งหรือต่ำกว่านั้น
3. ทิศทางการวางแผง ควรวางแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้หันไปทางด้านดวงอาทิตย์ เพื่อให้ผลิตไฟฟ้าได้มากที่สุด (ในประเทศไทยจะวางให้มีมุมเอียงประมาณ 15 องศา หันหน้าแผงไปทางทิศใต้)
4. ความร้อน แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะทำงานได้ดีในสภาพเย็นหากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ร้อน หรือ อยู๋ในที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ จะผลิตไฟฟ้าได้น้อยลง คือจะแปรผกผันกับความร้อนแต่จะแปรผันตรงกับแสงสว่าง
แนวทางการบำรุงรักษาที่เหมาะสม เมื่อติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในทิศทางที่ถูกต้องแล้วควรทำความสะอาดด้านหน้าแผงด้วยน้ำสะอาด (น้ำเปล่า) และใช้ผ้าหรือฟองน้ำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เนื่องจากอาจมีมูลนก ฝุ่นละออง หรือเศษใบไม้ ฯลฯ ติดอยู่บนแผงเซลล์ ไม่ควรใช้วัสดุที่ทำให้เกิดรอยบนหน้ากระจกหน้าแผงเซลล์มาทำความสะอาด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการรับแสงต่ำลง และต้องไม่ให้มีร่มเงามาบังแผงเซลล์แสงอาทิตย์โดยเฉพาะในช่วงเวลาตั้งแต่ 8.00-16.00 น.
ศักยภาพการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย
พลังงานแสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์เฉลี่ยที่ได้รับในประเทศไทย
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีโดยที่ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์จะมีค่าแปรเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 150 ‘ 10 ยกกำลัง 6 km (+17%)พลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับนอกบรรยากาศโลกที่ระยะห่างดังกล่าวมีค่าสูงสุดประมาณ 1400W / mยกกำลัง 2 ในช่วงเดือนมิถุนายนและเดืนกรกฎาคม ดังนั้นพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยที่โลกได้รับจะมีค่าประมาณ 1353 W /m สำหรับประเทสไทยอัตราการตกกระทบของพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยต่อวัน ซึ่งได้รับตามภาคต่างๆ ในประเทศมีค่า
ตัวแปรที่มีผลต่อคุณสมบัติทางไฟฟ้าของโซล่าเซลล์หรือเซลล์แสงอาทิตย์
ตัวแปรสำคัญที่มีผลทำให้เซลล์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ความเข้มรังสีอาทิตย์
กระแสไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มรังสีอาทิตย์ กล่าวคือเมื่อความเข้มรังสีอาทิตย์สูง ก็จะทำให้กระแสไฟที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์มีค่าสูงขึ้นด้วย ขณะที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าจะแปรตามความเข้มรังสีอาทิตย์น้อยมาก ความเข้มรังสีอาทิตย์ที่ใช้เป็นมาตราฐานคือการวัดที่พื้นผิวโลก ในสภาพอากาศปลอดโปร่งไม่มีเมฆหมอก และวัดที่ระดับน้ำทะเลในสภาพที่รังสีอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลก ซึ่งความเข็มรังสีอาทิตย์จะมีค่าประมาณ 1000 w/m2 หรือมีค่าอากาศมวล(Air Mass) เท่ากับ 1.5
อุณหภูมิ
กระแสไฟฟ้าจะไม่แปรตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป แต่แรงเคลื่อนไฟฟ้าจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โดยทั่วไปแล้วอุณหภูมิที่สูงที่สูงขึ้นทุกๆ 1 องศา จะทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าลดลง 0.5 ๔%กรณีแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาตรฐาน ที่กำหนดประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ จะกำหนดว่าที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จะทำให้แผงเซลล์มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่วงจรเปิด (Open Circuit) 21 Vที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสหมายความว่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่จะได้จากแผงเซลล์ เมื่อยังไม่ได้ต่อวงจรกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จะมีค่าเท่ากับ 21 v แต่ถ้าหากว่าอุณหภูมิเปลี่ยนไปเป็น 30 องศาเซลเซียส จะทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าของแผงเซลล์ลดลง 2.5 % หรืออาจกล่าวอีกนัยก็คือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่วงจรเปิดจะมีค่าลดลงเท่ากับ 21 v % 2.5 % = 0.252 v
จากข้อกำหนดดังกล่าวก่อนการเลือกใช้แผงเซลล์ จะต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของแผงเซลล์ที่ระบุไว้ในแผงแต่ละชนิดด้วยว่าใช้มาตรฐานอะไร อาทิ แผงเซลล์ชนิดหนึ่งระบุว่าให้กำลังงานได้ 80 W ที่มีความเข้มรังสีอาทิตย์ 1100 W/m2 ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส อีกชนิดหนึ่งระบุกำลังงานที่ได้ 75 W ที่ความเข้มรัวสีอาทิตย์ 1000 W/m2 ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งมีมาตรฐานการกำหนดที่แตกต่างกันแผงเซลล์ที่ให้กำลังได้ 80 W ใช้ว่าจะใหกำลังงานมากกว่าแผงเซลล์ 75 W เนื่องจากว่า หากพิจารณาที่สภาวะมาตรฐานที่ 1000 W/m2 ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เมื่อเราคำนวณแล้วจะพบว่าแผงเซลล์ที่ระบุกำลังไฟฟ้า 80 W จะให้กำลังงานที่ต่ำกว่า