แผงโซล่าเซลล์ MONO 180W
Code: STC-M180
Short detail: รายละเอียดย่อ
โซล่าเซลล์ขนาด 180W
แรงดันไฟฟ้าสูงสุด(Voc) 44.35V
กระแสไฟฟ้าสูงสุด(Isc) 5.23A
CELLS: Monocrystalline silicon solar cells
Dimension of the module: 1580*808*35mm(L*W*H)
Life Time: 25 Years
Warranty : 10 Year 90% power
Warranty : 20 Year 80% power
CHARACTERISTICS:คุณลักษณะ
Power at STC ( pm ): 180 Watt
Maximum Power voltage ( Vpm ):44.3 Volts
Maximum power cusrrent ( Ipm ): 5.23 Amp
Open circuit voltage ( Voc ): 36.36 Volts
Short circuit current ( Isc ): 4.82 Amp
Tolerance: +- 5%
Operating temperature : -40C to +85C
Maximum system voltage: 1000V DC
COMPONENTS:ชนิดจุดเชื่อมต่อ
Front Glass: 3.2 mm
Junction Box: IP-65 Rated
มาทำความรู้จักกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์
พลังงานแสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปใปปัจจุบัน
ดวงอาทิตย์ที่ท่านผู้อ่านรู้จัก และเห็นอยู่ทุกวันนั้น นอกจากจะให้แสงสว่าง และความร้อนอันเป็นประโยชน์แก่สิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้แล้ว ผู้เขียนอยากให้ท่านรู้จักดวงอาทิตย์ดวงนี้ให้มากขึ้นอีก โดยเฉพาะในด้านของการเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานมหาศาลของระบบสุริยะจักรวาล ดวงอาทิตย?มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจน บริเวณใจกลางของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิและแรงดันสูงมาก จนทำให้ก๊าซไฮโดรเจนหลอมรวมกันเป็นก๊าซฮีเลียม และกำเนิดพลังงานออกมาอย่างมหาศาล คือความร้อนและแสงสว่าง เราเรียกปฏิกริยานี้ว่า “ปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น” พลังงานความร้อนและแสงสว่างจากดวงอาทิตย์นี้เองที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตบนโลก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สำคัญ และเป็นพลังงานสะอาดที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างไม่มีวันหมด
พลังงานที่ดวงอาทิตย์ส่งออกมามีจำนวนมหาศาล ถ้าคิดหน่วยเป็นพลังงานวัตต์แล้ว มีค่าเท่ากัน 174 พิตาวัตต์ (Petawatt) หรือเท่ากับ 174,000,000,000,000,000 (174 * 1015) วัตต์ แต่พลังงานจากดวงอาทิตย์จำนวนมหาศาลนี้ตกลงมาถึงพื้นโลกเพียง 89 พิตาวัตต์ หรือประมาณ 51 เปอร์เซนต์เท่านั้น เป็นเพราะว่าพลังงานจากแสงอาทิตย์เมื่อผ่าชั้นบรรยากาศของโลกแล้ว จะมีการสะท้อนกลับไปบ้าง บางส่วนก็ถูกชั้นบรรยากาศ หรือเมฆดูดกลืนไป โดยเฉพาะชั้นบรรยากาศนั้นจะดูดกลืนพลังงานจากแสงอาทิตย์ไปได้ถึง 33 เปอร์เซนต์ จากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด ภาพการส่งผ่านพลังงานและแสงอาทิตย์จากดวงอาทิตย์มายังพื้นโลก แสดงให้เห็นดังรูปที่ 1 – 2 เมื่อพิจารณาถึงพลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกลงบนนั้น ผิวโลกต่อพื้นที่หนึ่งตารางเมตร พบว่ามีค่าสูงสุดเท่ากับ 1412 วัตต์ต่อตารางเมตร (Watt/ m2) และมีค่าต่ำสุดเท่ากับ 1325 วัตต์ต่อตารางเมตร (Watt/ m2) พลังงานและอาทิตย์นั้นเป็นพลังงานทดแทน (Renewable Energy) ชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับพลังงานจากลม พลังงานจากน้ำ ฯลฯ พลังงานแสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์ ที่มีศักยภาพสูง มีความยั่งยืน ไม่มีทางหมดไปได้ ตราบใดที่ยังมีดวงอาทิตย์ ซึ่งแตกต่างจากพลังงานที่ได้จากแหล่งกำเนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานที่ได้จากเชื้อเพลิง เช่น จากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน เชื้อเพลิงเหล่านี้ ยิ่งใช้มากเท่าไร ยิ่งหมดเร็วเท่านั้น นอกจากหมดไปแล้ว ระหว่างที่ใช้งานก็ต้องนำเชื้อเพลิงเหล่านี้ไปเผาไหม้เสียก่อน จึงจะเกิดเป็นพลังงานได้ การเผาไหม้นี้ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นก๊าซที่สำคัญที่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะเรือนกระจก ที่ทำให้โลกร้อนขึ้นนั่นเองครับ ดังนั้นจึงมีการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ประเทศที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับผลิตไฟฟ้ามากที่สุดในโลก เรียงตาสำดับดังนี้ ญี่ปุ่น เยอรมนี สเปน สหรัฐอเมริกา และจีน เป็นต้น
การบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์และแผงโซล่าเซลล์
การบำรุงรักษา หมายถึง วิธีการปฏบัติหรือแนวทางตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีอายุการใช้งานยาวนาน และผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุด ท่านผู้ใช้งานควรทราบถึงสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการผลิตไฟฟ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ มีดังต่อไปนี้
1. พื้นที่ของแผง แผงเซลล์แสงอาทิตย์ยิ่งมีขนาดใหญ่ จะยิ่งผลิตไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น สรุปคือยิ่งมากยิ่งได้เยอะ
2. ความสว่างของแสงอาทิตย์ ยิ่งแสงอาทิตย์ตกลงบนแผงมาก จะยิ่งผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น หากมีร่มเงาบังแผงแม้เพียง 1 เซลล์ ไฟฟ้าที่ผลิตได้อาจลดลงเหลือแค่ครึ่งหรือต่ำกว่านั้น
3. ทิศทางการวางแผง ควรวางแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้หันไปทางด้านดวงอาทิตย์ เพื่อให้ผลิตไฟฟ้าได้มากที่สุด (ในประเทศไทยจะวางให้มีมุมเอียงประมาณ 15 องศา หันหน้าแผงไปทางทิศใต้)
4. ความร้อน แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะทำงานได้ดีในสภาพเย็นหากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ร้อน หรือ อยู๋ในที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ จะผลิตไฟฟ้าได้น้อยลง คือจะแปรผกผันกับความร้อนแต่จะแปรผันตรงกับแสงสว่าง
แนวทางการบำรุงรักษาที่เหมาะสม เมื่อติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในทิศทางที่ถูกต้องแล้วควรทำความสะอาดด้านหน้าแผงด้วยน้ำสะอาด (น้ำเปล่า) และใช้ผ้าหรือฟองน้ำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เนื่องจากอาจมีมูลนก ฝุ่นละออง หรือเศษใบไม้ ฯลฯ ติดอยู่บนแผงเซลล์ ไม่ควรใช้วัสดุที่ทำให้เกิดรอยบนหน้ากระจกหน้าแผงเซลล์มาทำความสะอาด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการรับแสงต่ำลง และต้องไม่ให้มีร่มเงามาบังแผงเซลล์แสงอาทิตย์โดยเฉพาะในช่วงเวลาตั้งแต่ 8.00-16.00 น.
มารู้จักกับเซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซล่าเซลล์
เซลล์แสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์ที่นำมาเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง และในทางอ้อมสามารถนำมาเปลี่ยนแปลงเป้นพลังงานความร้อนและสารเคมี เซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำจำพวก ซิลิคอน เยอรมันเนียม หรือสารอื่นๆ ที่สามารถก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้เมื่อถูกรังสีอาทิตย์ตกกระทบ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร
เซลล์แสงอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 1954 โดย Chapin , Fuller และ Pearson โดยบุคคลทั้งสามได้ค้นพบเทคโนโลยีการสร้างรอยติ่ พี – เอ็น (P-N Junction) แบบใหม่โดยวิธีการแพร่สารเข้าไปในผลึกของซิลิคอน จนได้เซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียง 6 % ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ให้มีประสิทธิภาพสูงกว่า 15%ในระยะแรกของการพัฒนาเซลล์ จะใช้สำหรับโครงการด้านอวกาศ อาทิ ดาวเทียมหรือยานอวกาศที่ส่งจากพื้นโลกไปโคจรนอวกาศ จะใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำหนดไฟฟ้า ภายหลังจากนั้นจึงได้มีการนำเอาแผงเซลล์อาทิตย์มาใช้บนพื้นโลกกันอย่างแพร่หลาย
เซลล์แสงอาทิตย์เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่สร้างจากสารกึ่งตัวนำ ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง กระแสไฟฟ้าที่ได้จะเป็นไฟกระแสตรงโครงสร้างหลักของเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ รอยต่อ พี –เอ็น ของสารกึ่งตัวนำที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือ ซิลิคอน เนื่องจากซิลิคอนเป็นธาตุที่มีมากที่สุดในบรรดาสารกึ่งนำที่มีอยู่ในโลก จึงมีราคาถูกและเป็นสารกึ่งตัวนำที่ได้มีการพัฒนามานานแล้ว เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจึงเป็นที่เข้าใจและใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
หลักการผลิตไฟฟ้าโดยโซล่าเซลล์เซลล์แสงอาทิตย์
วิวัฒนาการของเซลล์แสงอาทิตย์ได้มีมานานนับทศวรรษ เซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตขึ้นในช่วงแรกจะผลิตจากซีลิเนียม ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงพลังงานประมาณ 1 –2%จึงทำให้การใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก จนถึงช่วง พ.ศ 2493 ได้มีการผลิตซิลิคอนขึ้นได้สำเร็จเป็นครั้งแรก และได้พัมนาต่อมาเร่อยๆ เพื่อให้ได้เวลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทิภาพและราคาถุกลง ตลอดจนถึงมีอายุการใช้งานได้นาน ปุจจุบันเซลล์แสงอาทิตย์ได้มีการผลิตในหลายลัการะดังนี้
1.Single Crystalline Silicon
2.Poly Crystalline Silicon
3.Amorphous Siliocon
4.Gallium Arsenide
เซลล์แสงอาทิตย์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยนำสารกึ่งตัวนำ อาทิ ซิลิคอน วึ่งมีราคาถูกและมีมากบนพื้นโลกโดยนำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลิตให้เป็นแผ่นให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์เรียกว่า เซลล์แสงอาทิตย์เมื่อแสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รัวสีของแสงที่มีอนุภาคของพลังงานที่เรียกว่า โฟรตอน (Photon) จะถ่ายโอนพลังงานให้กับอิเล็กตรอน (Electron) ในสารกึ่งตัวนำจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดข้ามขอบเขตออกมาจากแรงดึงดูดของอะตอมและสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ เมื่ออิเล็กตรอนมีการเคลื่อนที่ครบวงจรก็จะเกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น
องค์ประกอบหลักของเซลล์แสงอาทิตย์คือ สารกึ่งตัวนำ (Semi Conductors) จำนวน 2 ชนิดมาต่อกัน ซึ่งเร้ารียกว่า รอยต่อ พี –เอ็น (P-N Junction)เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ ก็จะถ่ายโอนพลังงานให้กับอะตอมของสารกึ่งตัวนำทำให้เกิดการสร้างพาหะนำไฟฟ้าประจุลบและประจุบวกขึ้นได้แก่ อิเล็กตรอนและโฮล โครงสร้างรอยต่อพี – เอ็น จะทำหน้าที่ในการสร้างสนามฟ้าภายในเซลล์เพื่อแยกพาหะไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนให้ไหลไปที่ขั้วลบและทำให้พาหะนำไฟฟ้าชนิดโฮลไหลไปที่ขั้วบวก ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงขึ้นที่ขั้วทั้งสอง เมื่อเราต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์เข้ากับอุปกรณืไฟฟ้าต่างๆ ก็จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรอย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังมีแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงเซลล์ และเราสามาถนำเอาพลังงานไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ไดทันที หรือนำไปเก็บกักไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้งานในภายหลังได้
แม้ว่าเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนป็นที่เชื่อถือไดโดยใช้สารกึ่งตัวนำแบบผลึกของซิลิคอน ที่มีความบริสุทธิ์สูงและมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 12 -17 % แต่ทว่าราคาของเซลล์แสงอาทิตย์แบผลึกของซิลิคอน ไม่สามารถที่จะลดราคาลงได้อีกมากนักเนื่องจากผลึกของซิลิคอนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จึงมีคุณค่าเพิ่มที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียมกับการนพมาผลิตเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ นอกจากนั้นกรรมวิธีในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์จากผลึกของซิลิคอน ที่จะต้องนำมาเลื่อยให้เป็นแผ่นบางๆ (wafer) จึทำให้เกิดการสูญเสียในลักาณะขี้เลื่อยไปไม่น้อยกว่าครึ่ง
อย่างไรก็ตามบริษิทผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์หลาย ๆ แห่ง ได้พยายามที่จะพัฒนาเพื่อลดราคาการผลิตด้วยการดึงเป็นแผ่นฟิล์ม (Ribbon) และการใช้ซลิคอนแบบไม่เป็นผลึก(Amorphous Silicon) ในลักษณะฟิล์มบางเคลือบลงบนแผ่นกระจกหรือแผ่น Stainless steel ที่งอโค้งได้โดยวิธีการดังกล่าวแล้วนี้ จะสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตลงไปไดมาก แต่เนื่องจาดซิลิคอนแบบผลึกดังนั้นจึงได้มีการพยายามพัฒนาสารประกอบตัวอื่นๆ อาทิ Copper lndium Diselenide(CLS) และCadmium Telluride (CdTe) เพื่อผลิตเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบางขึ้น โดยมีความคาดหวังว่าจะมีประสิทธิภาพสูงและอายุการใช้งานนานกว่าวิลิคอนแบบไม่เป็นผลึก นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาประกอบซึ่งใช้สำหรับแปลงค่ากระแสไฟฟ้า (lnverter) ให้มีราคาถูกลงอีกด้วย