แผงโซล่าเซลล์ Mono 240W
Code: STC-M240
Short Detail:รายละเอียดย่อ
โซล่าเซลล์ขนาด 240W
แรงดันไฟฟ้าสูงสุด(Voc) 30.21V
กระแสไฟฟ้าสูงสุด(Isc) 8.59A
Features
- Power tolerance of 0 to +3% provides a stable, high-energy system output
- Better performance under low light conditions
- More power per unit area for cost effective installation
Benefits:
- 10 years warranty at 90% of the minimal rated power output
- 25 years warranty at 80% of the minimal rated power output
- Designed to meet the unique needs of customers
Specifications
Type :STC-M240
Peak Power (Pmpp): 240W
Open Circuit Voltage (Voc) :37.21
Short Circuit Current (Isc): 8.59
Optimum operating Voltage (Vmpp) :29.89
Optimum operating Current (Impp): 8.03
Module efficiency :14.70%
Maximum system voltage [V] :1000
Voltage temperature coefficient: -0.353%/c
Current temperature coefficient: +0.049%/c
Power temperature coefficient: -0.472%/c
Series Fuse Rating [A] :15A
Cells :6x10 pieces monocrystaline solar cells series strings
Front glass Ultra clear tempered glass :3.2mm
Cell encapsulation :EVA (Ethylene-Vinyl-Acetate)
Back sheet :Composite film
Frame: Anodised aluminium profile
Dimensions :1650x990x50mm
Weight :20.5Kg
ศักยภาพการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย
พลังงานแสงอาทิตย์หรือโซล่าเซลล์เฉลี่ยที่ได้รับในประเทศไทย
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีโดยที่ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์จะมีค่าแปรเปลี่ยนอยู่ระหว่าง 150 ‘ 10 ยกกำลัง 6 km (+17%)พลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้รับนอกบรรยากาศโลกที่ระยะห่างดังกล่าวมีค่าสูงสุดประมาณ 1400W / mยกกำลัง 2 ในช่วงเดือนมิถุนายนและเดืนกรกฎาคม ดังนั้นพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยที่โลกได้รับจะมีค่าประมาณ 1353 W /m สำหรับประเทสไทยอัตราการตกกระทบของพลังงานแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยต่อวัน ซึ่งได้รับตามภาคต่างๆ ในประเทศมีค่า
ตัวแปรที่มีผลต่อคุณสมบัติทางไฟฟ้าของโซล่าเซลล์หรือเซลล์แสงอาทิตย์
ตัวแปรสำคัญที่มีผลทำให้เซลล์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ความเข้มรังสีอาทิตย์
กระแสไฟฟ้าจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเข้มรังสีอาทิตย์ กล่าวคือเมื่อความเข้มรังสีอาทิตย์สูง ก็จะทำให้กระแสไฟที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์มีค่าสูงขึ้นด้วย ขณะที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าจะแปรตามความเข้มรังสีอาทิตย์น้อยมาก ความเข้มรังสีอาทิตย์ที่ใช้เป็นมาตราฐานคือการวัดที่พื้นผิวโลก ในสภาพอากาศปลอดโปร่งไม่มีเมฆหมอก และวัดที่ระดับน้ำทะเลในสภาพที่รังสีอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลก ซึ่งความเข็มรังสีอาทิตย์จะมีค่าประมาณ 1000 w/m2 หรือมีค่าอากาศมวล(Air Mass) เท่ากับ 1.5
อุณหภูมิ
กระแสไฟฟ้าจะไม่แปรตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนไป แต่แรงเคลื่อนไฟฟ้าจะลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โดยทั่วไปแล้วอุณหภูมิที่สูงที่สูงขึ้นทุกๆ 1 องศา จะทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าลดลง 0.5 ๔%กรณีแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาตรฐาน ที่กำหนดประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ จะกำหนดว่าที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จะทำให้แผงเซลล์มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่วงจรเปิด (Open Circuit) 21 Vที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสหมายความว่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่จะได้จากแผงเซลล์ เมื่อยังไม่ได้ต่อวงจรกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จะมีค่าเท่ากับ 21 v แต่ถ้าหากว่าอุณหภูมิเปลี่ยนไปเป็น 30 องศาเซลเซียส จะทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าของแผงเซลล์ลดลง 2.5 % หรืออาจกล่าวอีกนัยก็คือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่วงจรเปิดจะมีค่าลดลงเท่ากับ 21 v % 2.5 % = 0.252 v
จากข้อกำหนดดังกล่าวก่อนการเลือกใช้แผงเซลล์ จะต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของแผงเซลล์ที่ระบุไว้ในแผงแต่ละชนิดด้วยว่าใช้มาตรฐานอะไร อาทิ แผงเซลล์ชนิดหนึ่งระบุว่าให้กำลังงานได้ 80 W ที่มีความเข้มรังสีอาทิตย์ 1100 W/m2 ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส อีกชนิดหนึ่งระบุกำลังงานที่ได้ 75 W ที่ความเข้มรัวสีอาทิตย์ 1000 W/m2 ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ซึ่งมีมาตรฐานการกำหนดที่แตกต่างกันแผงเซลล์ที่ให้กำลังได้ 80 W ใช้ว่าจะใหกำลังงานมากกว่าแผงเซลล์ 75 W เนื่องจากว่า หากพิจารณาที่สภาวะมาตรฐานที่ 1000 W/m2 ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เมื่อเราคำนวณแล้วจะพบว่าแผงเซลล์ที่ระบุกำลังไฟฟ้า 80 W จะให้กำลังงานที่ต่ำกว่า
การบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์และแผงโซล่าเซลล์
การบำรุงรักษา หมายถึง วิธีการปฏบัติหรือแนวทางตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์มีอายุการใช้งานยาวนาน และผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากที่สุด ท่านผู้ใช้งานควรทราบถึงสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการผลิตไฟฟ้าของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ มีดังต่อไปนี้
1. พื้นที่ของแผง แผงเซลล์แสงอาทิตย์ยิ่งมีขนาดใหญ่ จะยิ่งผลิตไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น สรุปคือยิ่งมากยิ่งได้เยอะ
2. ความสว่างของแสงอาทิตย์ ยิ่งแสงอาทิตย์ตกลงบนแผงมาก จะยิ่งผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น หากมีร่มเงาบังแผงแม้เพียง 1 เซลล์ ไฟฟ้าที่ผลิตได้อาจลดลงเหลือแค่ครึ่งหรือต่ำกว่านั้น
3. ทิศทางการวางแผง ควรวางแผงเซลล์แสงอาทิตย์ให้หันไปทางด้านดวงอาทิตย์ เพื่อให้ผลิตไฟฟ้าได้มากที่สุด (ในประเทศไทยจะวางให้มีมุมเอียงประมาณ 15 องศา หันหน้าแผงไปทางทิศใต้)
4. ความร้อน แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะทำงานได้ดีในสภาพเย็นหากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ร้อน หรือ อยู๋ในที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ จะผลิตไฟฟ้าได้น้อยลง คือจะแปรผกผันกับความร้อนแต่จะแปรผันตรงกับแสงสว่าง
แนวทางการบำรุงรักษาที่เหมาะสม เมื่อติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในทิศทางที่ถูกต้องแล้วควรทำความสะอาดด้านหน้าแผงด้วยน้ำสะอาด (น้ำเปล่า) และใช้ผ้าหรือฟองน้ำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เนื่องจากอาจมีมูลนก ฝุ่นละออง หรือเศษใบไม้ ฯลฯ ติดอยู่บนแผงเซลล์ ไม่ควรใช้วัสดุที่ทำให้เกิดรอยบนหน้ากระจกหน้าแผงเซลล์มาทำความสะอาด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการรับแสงต่ำลง และต้องไม่ให้มีร่มเงามาบังแผงเซลล์แสงอาทิตย์โดยเฉพาะในช่วงเวลาตั้งแต่ 8.00-16.00 น.
มารู้จักกับเซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซล่าเซลล์
เซลล์แสงอาทิตย์เป็นอุปกรณ์ที่นำมาเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง และในทางอ้อมสามารถนำมาเปลี่ยนแปลงเป้นพลังงานความร้อนและสารเคมี เซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำจำพวก ซิลิคอน เยอรมันเนียม หรือสารอื่นๆ ที่สามารถก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าได้เมื่อถูกรังสีอาทิตย์ตกกระทบ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร
เซลล์แสงอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 1954 โดย Chapin , Fuller และ Pearson โดยบุคคลทั้งสามได้ค้นพบเทคโนโลยีการสร้างรอยติ่ พี – เอ็น (P-N Junction) แบบใหม่โดยวิธีการแพร่สารเข้าไปในผลึกของซิลิคอน จนได้เซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียง 6 % ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ให้มีประสิทธิภาพสูงกว่า 15%ในระยะแรกของการพัฒนาเซลล์ จะใช้สำหรับโครงการด้านอวกาศ อาทิ ดาวเทียมหรือยานอวกาศที่ส่งจากพื้นโลกไปโคจรนอวกาศ จะใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำหนดไฟฟ้า ภายหลังจากนั้นจึงได้มีการนำเอาแผงเซลล์อาทิตย์มาใช้บนพื้นโลกกันอย่างแพร่หลาย
เซลล์แสงอาทิตย์เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่สร้างจากสารกึ่งตัวนำ ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง กระแสไฟฟ้าที่ได้จะเป็นไฟกระแสตรงโครงสร้างหลักของเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ รอยต่อ พี –เอ็น ของสารกึ่งตัวนำที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือ ซิลิคอน เนื่องจากซิลิคอนเป็นธาตุที่มีมากที่สุดในบรรดาสารกึ่งนำที่มีอยู่ในโลก จึงมีราคาถูกและเป็นสารกึ่งตัวนำที่ได้มีการพัฒนามานานแล้ว เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจึงเป็นที่เข้าใจและใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
หลักการผลิตไฟฟ้าโดยโซล่าเซลล์เซลล์แสงอาทิตย์
วิวัฒนาการของเซลล์แสงอาทิตย์ได้มีมานานนับทศวรรษ เซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิตขึ้นในช่วงแรกจะผลิตจากซีลิเนียม ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงพลังงานประมาณ 1 –2%จึงทำให้การใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก จนถึงช่วง พ.ศ 2493 ได้มีการผลิตซิลิคอนขึ้นได้สำเร็จเป็นครั้งแรก และได้พัมนาต่อมาเร่อยๆ เพื่อให้ได้เวลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสิทิภาพและราคาถุกลง ตลอดจนถึงมีอายุการใช้งานได้นาน ปุจจุบันเซลล์แสงอาทิตย์ได้มีการผลิตในหลายลัการะดังนี้
1.Single Crystalline Silicon
2.Poly Crystalline Silicon
3.Amorphous Siliocon
4.Gallium Arsenide
เซลล์แสงอาทิตย์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยนำสารกึ่งตัวนำ อาทิ ซิลิคอน วึ่งมีราคาถูกและมีมากบนพื้นโลกโดยนำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลิตให้เป็นแผ่นให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์เรียกว่า เซลล์แสงอาทิตย์เมื่อแสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รัวสีของแสงที่มีอนุภาคของพลังงานที่เรียกว่า โฟรตอน (Photon) จะถ่ายโอนพลังงานให้กับอิเล็กตรอน (Electron) ในสารกึ่งตัวนำจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดข้ามขอบเขตออกมาจากแรงดึงดูดของอะตอมและสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ เมื่ออิเล็กตรอนมีการเคลื่อนที่ครบวงจรก็จะเกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น
องค์ประกอบหลักของเซลล์แสงอาทิตย์คือ สารกึ่งตัวนำ (Semi Conductors) จำนวน 2 ชนิดมาต่อกัน ซึ่งเร้ารียกว่า รอยต่อ พี –เอ็น (P-N Junction)เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ ก็จะถ่ายโอนพลังงานให้กับอะตอมของสารกึ่งตัวนำทำให้เกิดการสร้างพาหะนำไฟฟ้าประจุลบและประจุบวกขึ้นได้แก่ อิเล็กตรอนและโฮล โครงสร้างรอยต่อพี – เอ็น จะทำหน้าที่ในการสร้างสนามฟ้าภายในเซลล์เพื่อแยกพาหะไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนให้ไหลไปที่ขั้วลบและทำให้พาหะนำไฟฟ้าชนิดโฮลไหลไปที่ขั้วบวก ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงขึ้นที่ขั้วทั้งสอง เมื่อเราต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์เข้ากับอุปกรณืไฟฟ้าต่างๆ ก็จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจรอย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังมีแสงอาทิตย์ตกกระทบแผงเซลล์ และเราสามาถนำเอาพลังงานไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ไดทันที หรือนำไปเก็บกักไว้ในแบตเตอรี่เพื่อใช้งานในภายหลังได้
แม้ว่าเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนป็นที่เชื่อถือไดโดยใช้สารกึ่งตัวนำแบบผลึกของซิลิคอน ที่มีความบริสุทธิ์สูงและมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 12 -17 % แต่ทว่าราคาของเซลล์แสงอาทิตย์แบผลึกของซิลิคอน ไม่สามารถที่จะลดราคาลงได้อีกมากนักเนื่องจากผลึกของซิลิคอนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จึงมีคุณค่าเพิ่มที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียมกับการนพมาผลิตเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ นอกจากนั้นกรรมวิธีในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์จากผลึกของซิลิคอน ที่จะต้องนำมาเลื่อยให้เป็นแผ่นบางๆ (wafer) จึทำให้เกิดการสูญเสียในลักาณะขี้เลื่อยไปไม่น้อยกว่าครึ่ง
อย่างไรก็ตามบริษิทผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์หลาย ๆ แห่ง ได้พยายามที่จะพัฒนาเพื่อลดราคาการผลิตด้วยการดึงเป็นแผ่นฟิล์ม (Ribbon) และการใช้ซลิคอนแบบไม่เป็นผลึก(Amorphous Silicon) ในลักษณะฟิล์มบางเคลือบลงบนแผ่นกระจกหรือแผ่น Stainless steel ที่งอโค้งได้โดยวิธีการดังกล่าวแล้วนี้ จะสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตลงไปไดมาก แต่เนื่องจาดซิลิคอนแบบผลึกดังนั้นจึงได้มีการพยายามพัฒนาสารประกอบตัวอื่นๆ อาทิ Copper lndium Diselenide(CLS) และCadmium Telluride (CdTe) เพื่อผลิตเซลล์แสงอาทิตย์แบบฟิล์มบางขึ้น โดยมีความคาดหวังว่าจะมีประสิทธิภาพสูงและอายุการใช้งานนานกว่าวิลิคอนแบบไม่เป็นผลึก นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาประกอบซึ่งใช้สำหรับแปลงค่ากระแสไฟฟ้า (lnverter) ให้มีราคาถูกลงอีกด้วย